เบล็สบล็อก
Blog
TIPS
รีไฟแนนซ์...วิธีลดดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน
รีไฟแนนซ์บ้าน (Refinance) คืออะไร
การรีไฟแนนซ์บ้าน (Refinance) คือ การขอยื่นกู้สินเชื่อบ้านกับธนาคารแห่งใหม่ เพื่อลดภาระเงินกู้จากธนาคารเดิมที่มีอยู่ ซึ่งเป็นการโอนยอดหนี้และหลักประกันจากอีกธนาคารนำไปชำระหนี้ที่เรามีอยู่กับธนาคารเดิม เพื่อให้ได้รับอัตราดอกเบี้ยบ้านลดลงกว่าอัตราดอกเบี้ยที่จ่ายอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะช่วยให้ยอดผ่อนชำระต่อเดือนน้อยลงและผ่อนบ้านหมดเร็วยิ่งขึ้น
* ข้อควรรู้ เราสามารถรีไฟแนนซ์บ้านได้ เมื่อสัญญาที่ยื่นขอสินเชื่อกับธนาคารแห่งแรกหมดอายุสัญญาลง ซึ่งส่วนใหญ่จะกำหนดให้สัญญามีอายุ 3 ปี แต่ในกรณีที่ผู้กู้ต้องการขอรีไฟแนนซ์บ้านก่อนหมดอายุสัญญาก็อาจสามารถทำได้เช่นกัน แต่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามที่ธนาคารกำหนด ตามที่ระบุไว้ในสัญญา
ข้อดีของการรีไฟแนนซ์
- ได้รับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ใหม่ที่ถูกกว่าเดิม
- บางกรณีอาจได้วงเงินกู้มากขึ้นกว่ายอดคงค้างเดิม
- ลดภาระหนี้ ทำให้จำนวนเงินที่ต้องผ่อนชำระต่อเดือนน้อยลง และภาระหนี้หมดเร็วยิ่งขึ้น
- ได้เงินส่วนต่างจากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง ทำให้มีเงินเหลือใช้จ่ายส่วนอื่น ๆ ที่จำเป็นได้มากขึ้น
ข้อเสียของการรีไฟแนนซ์
- ทำให้ระยะเวลาผ่อนชำระนานมากขึ้น
- เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรีไฟเเนนซ์ เช่น ค่าจัดรีไฟแนนซ์ใหม่ ค่าใช้จ่ายจิปาถะในการดำเนินการ ค่าเสียเวลา และอาจเสียค่าปรับหากมีการไถ่ถอนก่อนกำหนด
ขั้นตอนการรีไฟแนนซ์ มีอะไรบ้าง
1. ตรวจสอบสัญญากู้เดิม
ติดต่อขอเอกสารสรุปยอดหนี้ทั้งหมดจากธนาคารเก่า เพื่อสรุปรายละเอียดจำนวนเงินกู้ ระยะเวลาที่ชำระแล้วและระยะเวลาคงเหลือที่ค้างชำระ เป็นต้น เพื่อนำเอกสารต่างๆ ไปยื่นขอรีไฟเเนนซ์กับธนาคารใหม่ที่เลือกไว้
2. เลือกธนาคารใหม่ที่ใช่
การรีไฟแนนซ์กับธนาคารใหม่ที่เหมาะสม จะทำให้เราได้ดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำลง โดยสามารถพิจารณาธนาคารใหม่ ได้จากการหาข้อมูลและเปรียบเทียบข้อเสนอในเรื่องของอัตราดอกเบี้ยและระยะเวลาการชำระหนี้ ได้จากหลายๆ ธนาคาร เพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจ ซึ่งแต่ละธนาคารจะมีข้อเสนอและโปรโมชันที่แตกต่างกัน โดยอัตราดอกเบี้ยต่ำสุดจะอยู่ที่ประมาณ 2.39% - 2.89%
- เตรียมเอกสารให้พร้อม
เพื่อให้การรีไฟแนนซ์สะดวกและรวดเร็ว ควรจัดเตียมเอกสารให้พร้อมเพื่อความรวดเร็ว โดยเอกสารที่ต้องเตรียมเพื่อใช้ในการทำสัญญา แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
- เอกสารส่วนตัว
- สำเนาทะเบียนบัตรประชาชน
- สำเนาทะเบียน
- ใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล
- ทะเบียนสมรส (กรณีกู้ร่วม)
- เอกสารแสดงหลักฐานทางการเงิน
(สำหรับผู้ที่เป็นพนักงานบริษัท)
- สลิปเงินเดือน
- หนังสือรับรองเงินเดือนไม่เกิน 3 เดือน
- รายการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน
(สำหรับเจ้าของกิจการส่วนตัว)
- เอกสารทะเบียนการค้า ทะเบียนบริษัท
- หลักฐานการเสียภาษีเงินได้จากกรมสรรพากร
- เอกสารหลักประกันการรีไฟแนนซ์บ้าน
- สำเนาเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์หลักประกัน (เช่น โฉนดที่ดิน หรือ หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด อช.2)
- สำเนาหนังสือสัญญาการซื้อขายหรือให้ที่ดิน ทด.13 หรือ 14 หรือสัญญาซื้อขายห้องชุด
- สำเนาสัญญากู้จากธนาคารเก่า
- สำเนาสัญญาจำนองที่ดิน หรือ สำเนาสัญญาจำนองห้องชุด
- สำเนาใบเสร็จแสดงธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับบ้านหรือสำเนาใบเสร็จผ่อนชำระค่างวดบ้าน
- แผนที่ตั้งหลักประกันโดยสังเขป
4. ยื่นขอสินเชื่อสำหรับการรีไฟแนนซ์
เมื่อเตรียมเอกสารเรียบร้อยแล้ว ผู้ขอสินเชื่อสามารถนำเอกสารเข้าไปขอรีไฟแนนซ์กับทางธนาคารใหม่ได้ โดยเมื่อธนาคารรับเรื่องแล้ว จะใช้ระยะเวลาพิจารณาเอกสารประมาณ 2-3 สัปดาห์ และจะส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปประเมินราคาหลักประกันเพื่อประกอบการอนุมัติ และเมื่อได้รับการอนุมัติเรียบร้อยแล้ว ทางธนาคารใหม่จะติดต่อกับธนาคารเดิมเพื่อสอบถามหนี้คงเหลือและนัดวันไถ่ถอนต่อไป
5. ทำสัญญาใหม่
เมื่อธนาคารแห่งใหม่อนุมัติสินเชื้อแล้ว ผู้ขอสินเชื่อจะต้องดำเนินการนัดวันทำสัญญาใหม่ พร้อมกับจดจำนองที่ดิน โดยต้องนัดหมายกับนายธนาคารใหม่ และนายธนาคารเก่าภายในวันเดียวกัน ณ สำนักงานที่ดินเขตที่ตั้งของทรัพย์สิน เพื่อทำการโอนกรรมสิทธิ์และมอบโฉนดที่ดินให้กับนายธนาคารใหม่ เพียงเท่านี้ การรีไฟแนนซ์บ้านของก็เป็นอันเรียบร้อย
ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์
เมื่อธนาคารแห่งใหม่อนุมัติสินเชื่อเรียบร้อยแล้ว ลำดับต่อไปผู้ขอสินเชื่อจะต้องเตรียมค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ซึ่งส่วนใหญ่ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์จะน้อยกว่าการซื้อบ้านหลังใหม่ โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้
- ค่าประเมินราคาบ้าน ประมาณ 2,000-3,000 บาท ขึ้นอยู่กับธนาคารและพื้นที่ให้บริการ
- ค่าจดจำนอง คิดจาก 1% ของวงเงินกู้ ชำระให้กับทางกรมที่ดิน
- ค่าอากรแสตมป์ คิดจาก 0.05% ของวงเงินกู้ ชำระให้กับทางกรมสรรมพากร
- ค่าประกันภัยอัคคีภัย ประมาณหลักพันบาทต่อปี
- ค่าประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อบ้าน หรือ MRTA (ขึ้นอยู่กับความสมัครใจ)
- ค่าธรรมเนียมอื่นๆ
ในการพิจารณาว่ารีไฟแนนซ์แต่ละครั้งจะคุ้มค่าหรือไม่ ควรพิจารณาจากส่วนต่างที่ได้รับจากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง โดยเปรียบเทียบได้จากค่างวดที่ต้องผ่อนชำระระหว่างธนาคารเดิมและธนาคารใหม่ รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรีไฟแนนซ์และจุดคุ้มทุนของการรีไฟแนนซ์ ดังนั้น หากต้องการรีไฟแนนซ์ควรมองหาธนาคารใหม่ที่เรียกเก็บค่าใช้จ่ายรีไฟแนนซ์ต่ำ เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากการรีไฟแนนซ์คุ้มค่าที่สุด ถ้าพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ แล้วคุ้มค่า ก็ลุยเลยค่ะ
บทความ
ดูเพิ่มเติมHow to ซื้อบ้าน ฉบับ Freelance
อาชีพฟรีแลนซ์เป็นอาชีพอิสระที่หลายคนใฝ่ฝัน เนื่องจากเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการหารายได้ ที่ได้เป็นเจ้านายตัวเอง และสร้างรายได้ได้อย่างไม่จำกัด...
2023-01-20
อ่านบทความรีไฟแนนซ์...วิธีลดดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน
รีไฟแนนซ์บ้านทำอย่างไร เข้าใจง่ายใน 5 นาที
2022-12-27
อ่านบทความBLESS ไถ่ถอนและชำระคืนหุ้นกู้ ครั้งที่ 1/2565 มูลค่า 252.50 ล้านบาท เต็มจำนวน 100%
บริษัท เบล็ส แอสเสท กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ไถ่ถอนและชำระคืนหุ้นกู้ ครั้งที่ 1/2565 มูลค่า 252.50 ล้านบาท เต็มจำนวน ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย
2024-09-12
อ่านบทความเรื่องต้องรู้ . . ก่อนตัดสินใจกู้ร่วม
ก่อนจะกู้ร่วม ต้องทำอย่างไร เตรียมอะไรบ้าง เรามีคำตอบ!
2023-02-01
อ่านบทความเติมเต็มฝัน กู้ซื้อบ้านหลังแรก ฉบับมนุษย์เงินเดือน ทำยังไงดี?
เคล็ดลับพิชิตบ้านหลังแรก สำหรับมนุษย์เงินเดือน แม้เงินเดือนหลักหมื่นก็ซื้อบ้านในฝันหลักล้านได้
2024-09-13
อ่านบทความHow to ซื้อบ้าน ฉบับ Freelance
อาชีพฟรีแลนซ์เป็นอาชีพอิสระที่หลายคนใฝ่ฝัน เนื่องจากเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการหารายได้ ที่ได้เป็นเจ้านายตัวเอง และสร้างรายได้ได้อย่างไม่จำกัด...
BLESS ไถ่ถอนและชำระคืนหุ้นกู้ ครั้งที่ 1/2565 มูลค่า 252.50 ล้านบาท เต็มจำนวน 100%
บริษัท เบล็ส แอสเสท กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ไถ่ถอนและชำระคืนหุ้นกู้ ครั้งที่ 1/2565 มูลค่า 252.50 ล้านบาท เต็มจำนวน ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย
เรื่องต้องรู้ . . ก่อนตัดสินใจกู้ร่วม
ก่อนจะกู้ร่วม ต้องทำอย่างไร เตรียมอะไรบ้าง เรามีคำตอบ!
เติมเต็มฝัน กู้ซื้อบ้านหลังแรก ฉบับมนุษย์เงินเดือน ทำยังไงดี?
เคล็ดลับพิชิตบ้านหลังแรก สำหรับมนุษย์เงินเดือน แม้เงินเดือนหลักหมื่นก็ซื้อบ้านในฝันหลักล้านได้
ในการใช้บริการเว็บไซต์ของ เบล็ส แอสเสท กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริษัทอาจมีความจำเป็นต้องประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ซึ่งท่านสามารถศึกษา นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลการติดต่อ ได้ที่นี่ และบริษัท อาจจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการให้บริการผ่านเว็บไซต์ ซึ่งท่านสามารถกำหนดการตั้งค่าได้